มีอะไรใหม่ใน Hyper-V บน Windows 10

0

Windows 10 มาพร้อมกับคุณสมบัติใหม่หลายอย่างที่น่าสนใจสำหรับผู้ดูแลระบบ โดยหนึ่งในนั้นคือ Hyper-V ซึ่งบน Windows 10 นั้นมีการเพิ่มความสามารถใหม่หลายอย่างและการปรับปรุงการทำงานในหลายด้านด้วยกัน บทความนี้ผมจะแนะนำความเปลี่ยนแปลงที่มีใน Hyper-V บน Windows 10 ให้ได้ทราบกันครับ

Hyper-V บน Windows 10 คืออะไร?

สำหรับคนที่ยังไม่ทราบว่า Hyper-V คืออะไร ผมขอแนะนำพอสังเขป ดังนี้

Hyper-V บน Windows 10 หรือ Client Hyper-V เป็นเทคโนโลยีการจำลองเครื่องเสมือนที่ทำให้สามารถรันคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ได้หลายตัวพร้อมกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (เครื่องจริง) เพียงเครื่องเดียว โดย Hyper-V บน Windows 10 นั้นทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันกับ Hyper-V ที่ใช้บน Windows Server และมีให้ใช้ครั้งแรกใน Windows 8

สำหรับ Hyper-V บน Windows 10 มีการเพิ่มความสามารถใหม่หลายอย่างและการปรับปรุงการทำงานในหลายด้านด้วยกันดังนี้

Windows PowerShell Direct

การรันคำสั่ง Windows PowerShell ภายในคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) จากโฮสต์ทำได้ง่ายขึ้นและเชื่อถือได้ โดยไม่ต้องทำการคอนฟิกเครือข่าย ไฟร์วอลล์ หรือ remote management เพิ่มเติม แต่จะใช้ได้เฉพาะทั้งคอมพิวเตอร์เสมือนและโฮสต์เป็น Windows 10 หรือ Windows Server 2016 Technical Preview เท่านั้น

Hot add and remove for network adapters and memory

สามารถเพิ่มหรือลบอะแดปเตอร์เครือข่ายของคอมพิวเตอร์เสมือนได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง คุณสมบัตินี้ใช้ได้กับที่เกสต์ระบบ Windows และ Linux แต่รองรับเฉพาะคอมพิวเตอร์เสมือน generation 2 เท่านั้น

สามารถปรับขนาดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เสมือนได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง คุณสมบัตินี้ใช้แม้ว่าไม่ได้เปิดใช้งาน Dynamic Memory และรองรับทั้ง generation 1 และ generation 2

Production checkpoints

Production checkpoints ใช้ Volume Snapshot Service (VSS) ในการสร้างอิมเมจของคอมพิวเตอร์เสมือนแบบ “point in time” ซึ่งรองรับงานด้านการผลิตได้อย่างสมบูรณ์

Hyper-V Manager improvements

Alternate credentials support: สามารถใช้ครีเดนเชียล (ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน) ที่แตกต่างกันเมื่อใช้ Hyper-V manager ต่อกับโฮสต์ Windows 10 ตัวอื่นได้ และสามารถทำการบันทึกครีเดนเชียลเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้
Down-level management: สามารถใช้ Hyper-V manager บน Windows เพื่อจัดการ Hyper-V บน Windows Server 2012, Windows 8, Windows Server 2012 R2 และ Windows 8.1 ได้
Updated management protocol: Hyper-V manager บน Windows 10 ใช้โปรโตคอล WS-MAN ซึ่งรองรับ CredSSP, Kerberos หรือ NTLM authentication ในการติดต่อสื่อสารกับโฮสต์ Hyper-V

Connected Standby works

เมื่อเปิดใช้งาน Hyper-V บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้รูปแบบการใช้พลังงานแบบ Always On/Always Connected (AOAC) จะมีสถานะพลังงานแบบ Connected Standby ให้ใช้งาน

Linux secure boot

เกสต์ระบบ Ubuntu 14.04 และใหม่กว่า, SUSE Linux Enterprise Server 12 บนคอมพิวเตอร์เสมือน generation 2 สามารถบูตระบบด้วย secure boot ได้

Virtual Machine Configuration Version

เมื่อทำการย้ายหรือนำเข้าคอมพิวเตอร์เสมือนจากโฮสต์ Windows 8.1 เข้าใน Hyper-V บน Windows 10 ระบบจะไม่ทำการอัปเกรด configuration file ให้อัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์เสมือนดังกล่าวยังสามารถทำงานบนโฮสต์ Windows 8.1 ได้ อย่างไรก็ตามคุณจะไม่สามารถใช่งานคุณสมบัติใหม่ได้จนกว่าคุณจะทำการอัปเกรด configuration file จากเวอร์ชัน 5 (บนโฮสต์ Windows 8.1) เป็น เวอร์ชัน 6 (บนโฮสต์ Windows 10)

New virtual machine configuration file format

คอมพิวเตอร์เสมือนจะใช้รูปแบบไฟล์ configuration file แบบใหม่ (binary format) โดยมีนามสกุล .VMCX สำหรับ configuration data และ .VMRS สำหรับ runtime state data โดยรูปแบบใหม่นี้ออกแแบมาให้เพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านและเขียน configuration data ของคอมพิวเตอร์เสมือน และออกแแบมาให้ลดโอกาสไฟล์เสียหายจากสาเหตุระบบเก็บข้อมูลล้มเหลว

Integration Services delivered through Windows Update

ใน Windows 10 นั้น integration components จะถูกแจกจ่ายให้เกสต์ระบบ Windows บนคอมพิวเตอร์เสมือนผ่านทาง Windows Update ในแบบเดียวกันกับอัปเดตอื่นๆ โดยปัจจุบันมีให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เสมือนที่ใช้ระบบเกสต์ดังนี้

  • Windows Server 2012
  • Windows Server 2008 R2
  • Windows 8
  • Windows 7

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติใหม่และความเปลี่ยนแปลงใน Hyper-V บน Windows 10 ที่ทำให้ Hyper-V ใช้งานได้สะดวกขึ้น มีความหยืดหยุ่นมากขึ้น และมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น

ถ้าหากคุณต้องการเปิดใช้งาน Hyper-V บน Windows 10 คุณสามารถอ่านวิธีการทำได้ ที่นี่

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
What’s New for Hyper-V on Windows 10

ประวัติการปรับปรุงบทความ
10 กันยายน 2562: แก้ไขคำผิด
16 กันยายน 2558: เผยแพร่ครั้งแรก

Share This
Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmailby feather
Share.

Comments are closed.