วิธีอัพเกรด Windows 10 Version 1511 ผ่านทาง WSUS Server

0

ผมมีโอกาสทดลองอัพเกรดพีซี Windows 10 (Build 10240) รุ่น Enterprise ไปเป็น Windows 10 Version 1511 (Build 10586) ผ่านทาง Windows Server Update Services (WSUS) Server ซึ่งในตอนแรกผมคิดว่าเป็นงานง่ายแต่เอาเข้าจริงกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด จึงนำประสบการณ์ดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟังครับ

>> เรื่องนี้มีการทำงานหลายขั้นตอน โดยบางขั้นตอนผมเคยนำมาโพสต์ไว้แล้ว ดังนั้นจึงจะขอทำเป็นลิงก์ไปยังเรื่องเหล่านั้นแทนการนำมาโพสต์ซ้ำเพื่อความกระชับของเนื้อหาและต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

เงื่อนไขการอัพเกรด Windows 10 Version 1511 ผ่าน WSUS Server
ก่อนจะว่าถึงรายละเอียดวิธีการอัพเกรดว่าทำแบบไหน อย่างไร ผมขอแจ้งเงื่อนไขของการอัพเกรด Windows 10 Version 1511 ผ่านทาง WSUS Server ให้ได้ทราบกันก่อนครับ

สำหรับ WSUS Server ที่จะสามารถใช้ทำการอัพเกรด Windows 10 เป็น Windows 10 Version 1511 ได้นั้นจะต้องผ่านเงื่อนไขดังนี้

  1. WSUS ต้องเป็นเวอร์ชันบน Windows Server 2012 หรือ Windows Server 2012 R2 เท่านั้น WSUS บน Windows Server 2008 R2 หรือเก่ากว่าจะไม่สามารถใช้อัพเกรด Windows 10 Version 1511 ได้
  2. WSUS Server จะต้องติดตั้งการปรับปรุง KB3095113 ก่อนจึงจะรองรับการอัพเกรด Windows 10 Version 1511
  3. Windows Server 2012 R2 จะต้องติดตั้ง Windows Server 2012 R2 update: April 2014 (KB2919355) ก่อนจึงจะสามารถติดตั้งการปรับปรุง KB3095113 ได้

สำหรับวิธีการติดตั้งการปรับปรุง KB3095113 อ่านได้จากเรื่อง ทำให้ WSUS Server รองรับการอัพเกรด Windows 10 Version 1511

หลังจากทำการอัพเดต WSUS Server จนผ่านเงื่อนไขด้านบนแล้ว คุณก็จะสามารถใช้มันในการอัพเกรด Windows 10 Version 1511 ได้ครับ

ซอฟต์แวร์อ้างอิง
ซอฟต์แวร์ที่ผมใช้อ้างอิงมีดังนี้

  • พีซีเป็น Virtual Machine บน Hyper-V  ติดตั้งบน Windows Server 2012 R2 Standard
  • Windows 10 Enterprise Version 10.0 (Build 10240)
  • WSUS Server Version 6.3.9600.18057 ติดตั้งบน Windows Server 2012 R2 Standard

สำหรับการอัพเกรด Windows 10 Version 10.0 Build 10240 เป็น Windows 10 Version 1511 Build 10586 ผ่านทาง WSUS ผมจะแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: คอนฟิก WSUS Server เพื่อแจกจ่ายอัพเดตให้พีซี Windows 10
ขั้นตอนแรกนี้ต้องทำบนเครื่อง WSUS Server ซึ่งอ่านวิธีการทำได้จากเรื่อง เซ็ต WSUS Server ให้จ่ายอัพเดตให้ Windows 10

ขั้นตอนที่ 2: การอนุมัติให้ติดตั้ง Windows 10 Version 1511 Upgrade

ขั้นตอนนี้ยังคงต้องทำบนเครื่อง WSUS Server โดยผมทำการอนุมัติให้ติดตั้ง Windows 10 Version 1511 Upgrade ตามขั้นตอนดังนี้

1. บนเครื่อง WSUS Server (ผมใช้ Windows Server 2012 R2) คลิกไอคอน Server Manager บนแถบงาน จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Windows Server Update Services

2. บนหน้า Update Services ในคอลัมน์ด้านซ้ายคลิก Updates แล้วคลิก Upgrades ในคอลัมน์ด้านขวา (กรณีแสดง Action pane จะเป็นคอลัมน์กลาง) ในหัวข้อ Title คลิกขวาบนอัพเดตชื่อ Upgrade to Windows 10 Enterprise, Version 1511, 10586 – en-us, Volume จากนั้นคลิก Approve

บนหน้านี้ ถ้าไม่เห็น Upgrade to Windows 10 Enterprise, Version 1511, 10586 – en-us, Volume ให้เลือก Approval เป็น Unapproved และเลือก Status เป็น Any เสร็จแล้วคลิก Refresh ครับ

รูปที่ 1

4. บนหน้า Approve Updates คลิกไอคอน Arrow หน้ากลุ่ม Windows 10 64-bit (เป็นกลุ่มที่มีเครื่อง Windows 10 เป้าหมาย) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมต้องการอนุมัติให้ติดตั้งอัพเกรด Windows 10 Version 1511 จากนั้นคลิก Approved for Install แล้วคลิก I Accept บนหน้า Microsoft Software License Terms จากนั้นคลิก Close บนหน้า Approval Progress

สำหรับการใช้งานจริงจะต้อง Approved for Install ให้กับทุกกลุ่มที่มีเครื่อง Windows 10 เป้าหมายครับ

รูปที่ 2

รูปที่ 3

หมายเหตุ: ไฟล์อัพเกรด Windows 10 Version 1511 แต่ละเวอร์ชันใช้ได้กับทั้งรุ่น 32-บิตและ 64-บิต (ไม่ได้แยกเวอร์ชัน) และมีขนาดใหญ่ (ประมาณ 4.9 GB) จึงใช้เวลานานดาวน์โหลดหลายนาทีไปจนถึงชั่วโมงแล้วแต่ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ใช้งาน

ขั้นตอนที่ 3: ตั้งค่า Windows 10 ให้อัพเดตผ่านทาง WSUS Server
ขั้นตอนนี้จะทำบนเครื่องพีซี Windows 10 เป็นการตั้งนโยบายกลุ่มเพื่อให้ Windows 10 รับอัพเดตจาก WSUS Server ซึ่งอ่านวิธีการทำได้จากเรื่อง ตั้งค่า Windows 10 ให้อัพเดตผ่านทาง WSUS Server

ขั้นตอนที่ 4: ติดตั้งอัพเกรด Windows 10 Version 1511
ขั้นตอนนี้จะทำบนเครื่องพีซี Windows 10 เป็นการตรวจสอบและติดตั้ง Windows 10 Version 1511 Upgrade ตามขั้นตอนดังนี้

1. บนหน้าเดสก์ท็อป Windows 10 คลิกปุ่ม Start คลิก Settings คลิก Update & security แล้วคลิก Windows Update

2. บนหน้า Windows Update คลิก Check for updates แล้วรอจนการทำงานแล้วเสร็จ

ทิป: สามารถทำการตรวจสอบอัพเดตโดยการรันคำสั่ง wuauclt.exe /detectnow จากคอมมานด์พร้อมท์ครับ

รูปที่ 4

รูปที่ 5

ถ้าหาก Windows 10 ไม่พบอัพเดตให้ย้อนกลับตรวจสอบการให้แน่ใจว่าได้ทำตามขั้นตอนที่ 1-3 ถูกต้องครบถ้วนแล้ว

3. หลังจาก Windows Update ทำการติดตั้งอัพเดตแล้วเสร็จ จึงทำการรีสตาร์ทเครื่อง (เมื่อได้รับแจ้งจากระบบ) เพื่อให้การติดตั้งอัพเดตเสร็จสมบูรณ์

หลังจากเครื่องพร้อมใช้งาน Windows 10 จะได้รับการอัพเกรดเป็น Version 1511 Build 10586

อย่างไรก็ตาม การอัพเกรด Windows 10 รุ่น Enterprise ไปเป็น Windows 10 Version 1511 ผ่านทาง WSUS Server ไม่ได้ง่ายดายและราบรื่นอย่างที่คิดไว้ เพราะว่าการอัพเกรดล้มเหลวตามรายละเอียดด้านล่างครับ

เกิด error 0x8024200D เมื่ออัพเกรด Windows 10 Version 1511 ผ่าน WSUS Server
สำหรับในการอัพเกรด Windows 10 Version 1511 ผ่าน WSUS Server ของผมครั้งนี้เกิดปัญหาการทำงานล้มเหลวโดยได้รับข้อความดังนี้

There were problems installing some updates, but we’ll try again later. If you keep seeing this and want to search the web or contact support for information, this may help:

รูปที่ 6

เนื่องจาก Windows Update (รูปด้านบน) ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อะไรมากนัก ดังนั้นผมต้องเข้าไปดูรายละเอียดโดยใช้ Event Viewer ของ Windows 10

การเปิด Event Viewer บน Windows 10 ทำได้โดยป้อน “Event” ในช่อง I’m Cortana. Ask me anything. จากนั้นคลิก Event Viewer

จากนั้นผมจึงเข้าไปดูใน Administrative Events ภายใต้หัวข้อ Custom Views ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้จะมีหมายเลขเป็น Event ID 20 และมีรายละเอียดดังนี้

Installation
Failure: Windows failed to install the following update with error 0x8024200D: Upgrade to Windows 10 Enterprise, version 1511, 10586 – en-us, Volume.

รูปที่ 7

การแก้ปัญหา error 0x8024200D เมื่ออัพเกรด Windows 10 Version 1511 ผ่าน WSUS Server นั้นจะต้องทำการเพิ่มไฟล์นามสกุล .esd เข้าใน MIME Types ของ IIS Server บน WSUS Server ซึ่งทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

1. บน WSUS Server (ในที่นี่เป็น Windows Server 2012 R2) คลิก Start แล้วคลิก Administrative Tools หรือใช้ File Explorer เปิดไปที่ Control Panel\All Control Panel Items\Administrative Tools

2. บนหน้า Administrative Tools ดับเบิลคลิก Internet Information Services (IIS) Manager

3. บนหน้า IIS Managerในคอลัมน์ด้านซ้ายคลิกชื่อเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นในคอลัมน์กลางดับเบิลคลิก Mime Types

4. บนหน้า Mime Types ให้คลิกขวาบริเวณพื้นที่ว่างแล้วเลือก Add

รูปที่ 8

5. บนหน้า Add Mime Types ป้อนข้อมูลตามด้านล่าง เสร็จแล้วคลิก OK

File name extension = .esd
Mime Type = application/octet-stream

รูปที่ 9

สรุป
ในความเห็นของผม ถ้าหากตัดประเด็นเรื่องการสนับสนุนทางเทคนิคหรือด้านเอกสารของไมโครซอฟท์ออกไปแล้ว (ผมต้องค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาจากอินเทอร์เน็ต*) การอัพเกรด Windows 10 Version 1511 Build 1056 ด้วย WSUS Server มีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับองค์กร เนื่องจากผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการการอัพเกรดได้จากศูนย์กลางทำให้กระบวนการอัพเกรดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และที่สำคัญยังช่วยลดภาระงานของฝ่ายสนับสนุนด้านไอทีอีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือประสบการณ์การอัพเกรด Windows 10 Build 10240 เป็น Version 1511 Build 10586 ด้วย WSUS Server ซึ่งคิดว่าน่าจะพอใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ดูแลระบบนำไปต่อยอดหรือประยุกต์ใช้งานตามความเหมาะสมครับ

สำคัญ: การทดสอบนี้ผมไม่ได้พิจารณาถึงการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นนะครับ แต่ในการใช้งานจริงคุณจะต้องทดสอบให้แน่ใจว่าแอพพลิเคชั่นที่คุณใช้งานไม่มีปัญหาการทำงานร่วมกับ Windows 10 จึงจะลงมืออัพเกรดครับ

ข้อมูลอ้างอิง
Microsoft TechNet
* Arstechnica

Share This
Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmailby feather
Share.

Comments are closed.