เพิ่มเครื่องพีซี Windows 10 เข้า Active Directory Domain ด้วย Settings

0

บทความนี้เป็นการสาธิตวิธีการเพิ่มเครื่องพีซี Windows 10 เข้าร่วมแอคทีฟไดเร็กตอรีโดเมน Active Directory Domain หรือ AD Domain (ผมขอเรียกสั้นๆ ว่า โดเมนครับ) โดยใช้แอป Settings ซึ่งเป็นแผงควบคุมแบบใหม่ครับ

สำหรับท่านที่เคยเพิ่มเครื่องพีซี Windows เข้าโดเมน จะทราบว่า ก่อนหน้า Windows 10 การเพิ่มเครื่องพีซี Windows เข้าโดเมนจะทำโดยใช้ System จากแผงควบคุมหรือ Control Panel (อ่านวิธีทำได้ที่ การเพิ่มคอมพิวเตอร์ Windows 10 เข้าร่วม Domain) แต่ใน Windows 10 นอกจากเข้าร่วมโดเมนโดยใช้ System จากแผงควบคุมแบบเดิมแล้ว ยังสามารถใช้แอป Settings ซึ่งป็นแผงควบคุมสมัยใหม่ครับ

เตรียมเครื่องพีซี Windows 10 ให้พร้อมก่อนเข้าโดเมน
ก่อนลงมือทำการเพิ่มเครื่องพีซี Windows 10 เข้าโดเมนเราจะต้องเตรียมหรือตั้งค่าระบบต่างๆ ดังนี้

 

  1. เครื่องพีซี Windows 10 Pro หรือ Enterprise (Windows 10 Home ไม่สามารถเข้าร่วมโดเมนได้)
  2. เตรียมบัญชีผู้ดูแลระบบเครื่องพีซี Windows 10 ที่ต้องการเพิ่มเข้าร่วมโดเมน
  3. บัญชีผู้ดูแลระบบโดเมน Domain Admins สำหรับใช้ทำการรีเซ็ตรหัสผ่านของเครื่องพีซีบนโดเมน
  4. ตรวจสอบการตั้งค่าเครือข่าย เช่น IP Address และ DNS Server ของเครื่องพีซีที่ต้องการเพิ่มเข้าร่วมโดเมนให้ถูกต้องและเหมาะสม
  5. ต่อเครื่องพีซีที่ต้องการเพิ่มเข้าโดเมนเข้ากับระบบเครือข่ายและทดสอบให้แน่ใจว่าสามารถติดต่อกับ DNS Server และ Domain Controller ของโดเมนได้ (ขั้นตอนนี้อาจใช้วิธีการทดสอบโดยการ Ping ก็ได้ ครับ)
  6. บัญชีผู้ใช้ของโดเมนสำหรับใช้ลงชื่อเข้าระบบหลังจากเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าร่วมโดเมน

ทำการเพิ่มเครื่องพีซี Windows 10 เข้า Active Directory Domain ด้วย Settings
เมื่อทำการเตรียมเครื่องพีซี Windows 10 พร้อมแล้ว เราสามารถทำการเข้าร่วมโดเมนตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ลงชื่อเข้าระบบเครื่องพีซี Windows 10 ตัวที่ต้องการเพิ่มเข้าร่วมโดเมนด้วยบัญชีผู้ดูแลระบบบนเครื่อง (Local Administrator)

2. คลิก Start คลิก Settings หรือกดแป้นพิมพ์ลัด Windows + I จากนั้นบนหน้า Settings ให้คลิก System

3. บนหน้า System ด้านซ้ายให้คลิก About แล้วด้านขวาคลิก Join a domain

รูปที่ 1

4. บนหน้า Join a domain ให้ป้อนชื่อโดเมนในช่่อง Domain name แล้วคลิก Next

รูปที่ 2

5. บนหน้า Join a domain หน้าถัดไป ให้ป้อนชื่อบัญชีผู้ดูแลระบบโดเมนและรหัสผ่านในช่อง User name และ Password ตามลำดับ เสร็จแล้วคลิก OK

รูปที่ 3

6. บนหน้า Add an account จะมี 2 ทางเลือก ดังนี้

  • คลิก Skip ถ้าต้องให้ผู้ใช้ใช้การอนุญาตของ (default permission) โดเมน
  • ป้อนชื่อผู้ใช้โดเมนในช่อง User account แล้วเลือกประเภทของผู้ใช้บนเครื่องว่าที่ต้องการว่าเป็น Standard user หรือ Administrator จากเมนู Account Type เสร็จแล้วคลิก Next

รูปที่ 4

7. บนหน้า Restart your PC คลิก Restart Now เพื่อทำการเริ่มต้นระบบเครื่องพีซีใหม่และให้การเปลี่ยนแปลงมีผล

รูปที่ 5

ผลการทำงาน
หลังจากที่เครื่องพีซีพร้อมใช้งาน เราจะสามารถลงชื่อเข้า Windows 10 ด้วยผู้ใช้บนโดเมนได้โดยการกดปุ่มใดๆ บนแป้นพิมพ์เพื่อเข้าสู่หน้าลงชื่อเข้า (Sign-in Screen) จากนั้นให้คลิก Other user แล้วป้อนชื่อผู้ใช้ของโดเมนและรหัสผ่านในช่อง User name และ Password ตามลำดับ เสร็จแล้วกดปุ่ม Enter หรือคลิกที่ไอคอน Submit รองจนการสร้างโปรไฟล์แล้วเสร็จ (ครั้งแรกที่ลงชื่อเข้าระบบจะใช้เวลาการสร้างโปรไฟล์นานหลายนาที)

สรุป
การเพิ่มเครื่องพีซี Windows 10 เข้าโดเมนนั้นสามารถทำได้ทั้งการใช้ Settings หรือ System แต่การใช้ Settings นั้น เราสามารถกำหนดให้ผู้ใช้เป็นสมาชิกกลุ่ม Administrators ของเครื่องพพีซีได้ทันที ซึ่งไม่สามารถทำได้ถ้าใช้วิธีการเเข้าโดเมนด้วย System ในแผงควบคุมแบบเดิม (คุณสามารถเลิกใช้วิธีการใดก็ได้ตามความชื่นชอบหรือความถนัดครับ)

Share This
Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmailby feather
Share.

Comments are closed.