สำหรับการใช้ Virtual Machine (VM) นั้นบางครั้งจำเป็นทำการปรับแต่งการตั้งค่า (reconfigure) เพื่อเพิ่มสมรรถนะหรือประสิทธิภาพการทำงานให้กับ VM สำหรับโพสต์นี้ผมจึงขอแนะนำวิธีการเพิ่มหน่วยความจำ (Memory) ให้กับ VM บนระบบ Hyper-V บน Windows Server 2012/2016/2019 โดยใช้คำสั่ง PowerShell ให้ได้ทราบกันครับ
การเพิ่ม Memory ให้ Virtual Machine บน Hyper-V ด้วย PowerShell
การเพิ่มหน่วยความจำให้ VM บน Hyper-V ด้วย PowerShell จำใช้ cmlet ชื่อ Set-VMMemory อย่างไรก็ตาม หากไม่ทราบว่า VM มีขนาดหน่วยความจำเท่าใด สามารถตรวจสอบได้ใช้ cmlet ชื่อ Get-VMMemory
ตรวจสอบขนาดหน่วยความจำของ VM
การตรวจสอบขนาดหน่วยความจำของ VM โดยการรัน cmlet ชื่อ Get-VMMemory ใน PowerShell ตามตัวอย่างด้านล่าง
Set-VMMemory VM_Name
กรณีไม่ทราบชื่อ VM หรือจำชื่อ VM ไม่ได้ให้รัน cmlet ชื่อ Get-VM เพื่อแสดงชื่อ VM ทุกตัวบนระบบ Hyper-V ตามตัวอย่างด้านล่าง
Get-VM
สามารถส่ง (pipeline) เอ้าท์พุตจากการรัน Get-VM ไปยังคำสั่ง Get-VMMemory เพื่อแสดงขนาดหน่วยความจำของ VM ทุกตัวบนระบบ Hyper-V ตามตัวอย่างด้านล่าง
Get-VM | Get-VMMemory
การตั้งค่าหน่วยความจำ VM
การตั้งค่าหน่วยความจำ VM โดยการรัน cmlet ชื่อ Set-VMMemory ใน PowerShell ตามตัวอย่างด้านล่าง
Set-VMMemory VM_Name [-DynamicMemoryEnabled <Boolean>] [-MinimumBytes <Int64>] [-StartupBytes <Int64>] [-MaximumBytes <Int64>]
VM_Name
คือชื่อ VM ที่ต้องการเพิ่มขนาดหน่วยความจำ
-DynamicMemoryEnabled
เปิดหรือปิดการทำงาน dynamic memory บน VM ตัวที่กำหนด
-MaximumBytes
กรณีเปิดใช้งาน dynamic memory จะเป็นขนาดหน่วยความจำสูงสุดที่ VM สามารถใช้งานได้
-MinimumBytes
กรณีเปิดใช้งาน dynamic memory จะเป็นขนาดหน่วยความจำต่ำสุดที่ VM ใช้งาน
-StartupBytes
กรณีเปิดใช้งาน dynamic memory จะเป็นขนาดหน่วยความจำเริ่มต้นที่กำหนดให้ VM
กรณีไม่เปิดใช้งาน dynamic memory จะเป็นขนาดหน่วยความจำสุทธิที่กำหนดให้ VM
-VMName
ชื่อ VM ที่จะทำการเพิ่มหน่วยความจำ
ตัวอย่างการตั้งค่าหน่วยความจำ VM
ตัวอย่างที่ 1: เพิ่มหน่วยความจำให้ VM (ปิดการทำงาน dynamic memory)
Set-VMMemory Win10 -StartupBytes 10GB
ตัวอย่างที่ 2: เพิ่มหน่วยความจำให้ VM (เปิดการทำงาน dynamic memory)
Set-VMMemory Win10 -DynamicMemoryEnabled True -MinimumBytes 4GB -StartupBytes 6GB -MaximumBytes 12GB
แหล่งอ้างอิง
techgenix.com
Microsoft






