ความหมายรหัส Suffixes ของ CPU Intel

0

เนื่องจากมีงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ทำให้ต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะทางเทคนิคของตัวซีพียู (CPU) และจากการดูรายละเอียดรุ่นซีพียูของอินเทลพบว่ามีรหัส Suffix ใส่ต่อท้ายชื่อซีพียูแต่ละรุ่น แล้วที่รหัส Suffix ที่ใช้แจ้งข้อมูลอะไรหรือมีความหมายอย่างไร โพสต์นี้นำมาแบ่งปันกันให้ได้ทราบกันครับ

การดูคุณลักษณะของ Intel CPU จากรหัส Suffixes

มีอีกหลายองค์ประกอบด้วยกันที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยองค์ประกอบที่นับว่าสำคัญที่สุดคือซีพียูเนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และยังเป็นองค์ประกอบที่ราคาสูงสุด (ไม่รวมนับรวมการเพิ่มแผงควบคุมกราฟิกสำหรับใช้ในงานขั้นสูง เช่น งานกราฟิก งานตัดต่อวิดีโอ งานด้าน 3D)

กรณีที่สนใจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูของอินเทล นอกจากจะต้องพิจารณาเจนเนอร์เรชันของซีพียู เช่น 10, 11 หรือ 12 และเลือกรุ่น Core i3, i5, i7 หรือ i9 และ ยังต้องพิจารณาคุณลักษณะอื่น ๆ โดยการดูจากรหัส Suffix ที่ใส่ต่อท้ายชื่อซีพียูแต่ละรุ่นอีกด้วย โดยรหัส Suffix นั้นมีทั้งที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเดียว หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษสองตัว หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษตามด้วยตัวเลข โดยมีรายชื่อและความหมายดัวต่อไปนี้

  • G1-G7 ใช้ระบุระดับกราฟิก 1-7 (เฉพาะซีพียูที่มีเทคโนโลยีกราฟิกใหม่เท่านั้น)
  • E ใช้ระบุว่าเป็นซีพียูสำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
  • F ซีพียูที่ไม่มีกราฟิกในตัว ต้องใช้แผงควบคุมกราฟิกแยก
  • G ซีพียูที่มีระบบกราฟิก (Processor Graphics) ในตัว ซึ่งจะใช้หน่วยความจำหลัก (RAM) ในการทำงาน หากต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้้นสามารถใช้งานใช้แผงควบคุมกราฟิกแยกได้
  • H ซีพียูประสิทธิภาพสูงที่ปรับการทำงานให้เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
  • HK เหมือนกับ H แต่ไม่ถูกล็อค (unlocked) ความเร็วไว้ ทำให้สามารถโอเวอร์คล็อคได้
  • HQ เหมือนกับ H และมี 4 แกน (quad core)
  • K ซีพียูไม่ถูกล็อค (unlocked) ความเร็วไว้ ทำให้สามารถโอเวอร์คล็อคได้
  • S ซีพียูรุ่นพิเศษ
  • T ซีพียูปรับการทำงานให้ประหยัดพลังงาน
  • U ซีพียูสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ปรับการทำงานให้ประหยัดพลังงาน
  • Y ซีพียูสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ปรับการทำงานให้ใช้พลังงานต่ำ
  • X/XE เหมือนกับ K แต่ใช้งานระดับไฮเอนด์
  • B ซีพียูที่ใช้แฟลตฟอร์ม Ball Grid Array (BGA) คือ ซีพียูที่มีขาเป็นลักษณะทรงกลม โดยตัวซีพียูจะถูกเชื่อมติดกับเมนบอร์ดแบบถาวรทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถถอดเปลี่ยนซีพียูได้เอง สำหรับซีพียูรหัส B ของอินเทลจะมีใช้ในอุปกรณ์ประเภท Ultrathin หรือ All in One รวมถึงแท็บเล็ตบางตัว

ตัวอย่าง: Intel® Core™ i7 สำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ซึ่งมี 5 รุ่น ดังนี้

  • Intel® Core™ i7-11700 หมายความว่า ซีพียูรุ่นนี้มีระบบกราฟิกในตัว => ถ้าซื้อซีพียูรุ่นนี้ไม่ต้องซื้อแผงควบคุมกราฟิกเพิ่ม แต่จะไม่สามารถโอเวอร์คล็อคได้
  • Intel® Core™ i7-11700F หมายความว่า ซีพียูรุ่นนี้ไม่มีระบบกราฟิกในตัว => ถ้าซื้อซีพียูรุ่นนี้ต้องซื้อแผงควบคุมกราฟิกเพิ่ม แต่จะไม่สามารถโอเวอร์คล็อคได้
  • Intel® Core™ i7-11700K หมายความว่า ซีพียูรุ่นนี้ไม่ถูกล็อคความเร็วไว้ => ถ้าซื้อซีพียูรุ่นนี้สามารถโอเวอร์คล็อคได้ และไม่ต้องซื้อแผงควบคุมกราฟิกเพิ่ม
  • Intel® Core™ i7-11700KF หมายความว่า ซีพียูรุ่นนี้ไม่ถูกล็อคความเร็วไว้แต่ไม่มีระบบกราฟิกในตัว => ถ้าซื้อซีพียูรุ่นนี้สามารถโอเวอร์คล็อคได้ และต้องซื้อแผงควบคุมกราฟิกเพิ่ม
  • Intel® Core™ i7-11700T หมายความว่า ซีพียูรุ่นนี้ปรับการทำงานให้ประหยัดพลังงาน => ถ้าซื้อซีพียูรุ่นนี้ไม่ต้องซื้อแผงควบคุมกราฟิกเพิ่ม แต่จะไม่สามารถโอเวอร์คล็อคได้

เรียงตามราคาจาก มาก (แพง) -> น้อย (ถูก) 11700K -> 111700KF ->1700 -> 11700T -> 11700F

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดและความหมายของรหัส Suffix ที่ใส่ต่อท้ายชื่อซีพียูของอินเทลในปัจจุบัน (ณ ธันวาคม พ.ศ. 2565 ครับ)

แหล่งอ้างอิง
Intel

ประวัติการปรับปรุงบทความ
15 มกราคม 256ถ : รีวิว
13 ธันวาคม 2564 : เผยแพร่ครั้งแรก

Share This
Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmailby feather
Share.

Comments are closed.